ความแตกต่างตามทฤษฎี X ทฤษฎี Y ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นจิตวิทยาทางด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทำงาน
เปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 3 ทฤษฎีในลักษณะตารางดังนี้
ทฤษฎี X | ทฤษฎี Y | ทฤษฎี Z |
ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ Passive Worker | ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ Active Worker | ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ Coperative Working |
ผู้ปฏิบัติงานมักหลีกเลี่ยงการทำงาน | ผู้ปฏิบัติงานสนใจเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ในการทำงาน | รูปแบบของการบริหารจัดการที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กร |
ผู้ปฏิบัติงานไม่ชอบทำงาน | ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานตามที่ตนพอใจ | คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานทั่ว ๆ ไปมากกว่าการเป็นผู้เชี่ยวชาญ |
ต้องมีการบังคับให้ปฏิบัติงานเพื่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน | ผู้ปฏิบัติงานมองหาจุดมุ่งหมายของตนเองจากการทำงาน | ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่องจากการฝึกอบบรม |
ไม่ยินดีที่จะรับผิดชอบในงานที่อาจเกิดความผิดพลาด | ผู้ปฏิบัติงานจะรับผิดชอบภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม | ผู้ปฏิบัติงานมีแนวโน้มในการสร้างกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน |
ผู้ปฏิบัติงานไม่ค่อยกระตือรือร้น | ผู้ปฏิบัตงานมีความคิดสร้างสรรค์ แต่มิได้นำมาใช้ให้เต็มที่ | ผู้ปฏิบัติงานต้องการการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานและสวัสดิการที่ดีที่สุด |
อภิปราย
ทฤษฎี X และทฤษฎี Y อธิบายมุมมองการทำงานของมนุษย์ มีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Douglas Mcgregor ซึ่งมีการกล่าวถึงในวงการการบริหารและจิตวิทยา ทั้งที่กล่าวถึงในเชิงความคิดเห็นของนักวิชาการและงานวิจัยการกล่าวถึงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนทั่วไปมีความต้องการที่ไม่เคยพอ และไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการนั้นได้ทั้งหมด ทฤษฎีของเขายังคงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและวิธีทำงานด้วยการเข้าใจความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน
Prof. William Ouchi ได้เสนอทฤษฎี Z ซึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ของการบริหารแบบอเมริกันกับแบบญี่ปุ่น ทฤษฎีการบริหารของเขาจะเปลี่ยนวิธีการคิดและการทำงานของผู้บริหารและพนักงานในหลายแง่มุม
Ouchi มิได้กล่าวว่าการบริหารแบบญี่ปุ่นดีกว่าของอเมริกา หากแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานในอเมริกาได้ เพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากความจงรักภักดีต่อองค์กร
เมื่อกล่าวถึงทฤษฎี X ทฤษฎี Yและ ทฤษฎี Z จะเห็นได้ว่าพื้นฐานการคิดและกระทำกับผู้ปฏิบัติงานของแต่ละทฤษฎีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า แนวความคิดเก่าของทฤษฎี x นั้นเป็นการกระทำกับผู้ปฏิบัติงานที่มีพื้นฐานมาจากการมีระบบทาสในยุคดั้งเดิม มุมมองต่อตัวผู้ปฏิบัติงานยังมองว่าเป็นแรงงานระดับล่าง (Labor) ที่ไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจในการทำงาน เมื่อขาดแรงจูงใจต่าง ๆ ดังกล่าวก็ไร้ซึ่งความกระตือรือร้นในการทำงาน
ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X มีลักษณะที่เหมือนกันกับ ทฤษฎี Y และ ทฤษฎี Z คือความต้องการการมีความมั่นคงในชีวิต เพียงแต่ ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X อาจไม่ได้รับความสำคัญอย่างเช่นผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี Y และ Z
จึงมีพฤติกรรมเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบไร้ความกระตือรือร้น ( Passive Worker) แต่มุมมองในทางตรงกันข้าม การให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานตามสมควร กล่าวคือเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการ เช่น การกำหนดเวลาทำงาน การจัดสรรภารกิจ
เป็นต้น การปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องดำเนินการอย่างดีที่สุด
ทั้งด้านสวัสดิการ การรับรู้นโยบายการบริหาร ค่าจ้าง การพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานควรจะได้รับอย่างเป็นธรรม จะเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตอันเนื่องมาจากการจงรักภักดีในองค์กร อีกทั้งการให้ความสำคัญใกล้ชิดระหว่างระบบการบังคับบัญชาแนวตั้งและแนวนอนที่คิดเสมือนว่าทุกคนในองค์กรเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกันและกัน มององค์กรในลักษณะ System Approch น่าจะเป็นเครื่องนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จดังทฤษฎี Z
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น