วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ICT ในระบบสังคม

การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่เป็นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความ สมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ICT ในมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

เป็น ความคิดเชิงระบบซึ่งว่าด้วยการหาเหตุผลมาอ้างอิง ผลลัพธ์ที่ได้รับจะมีคำตอบที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น ผิด / ถูก , จริง/เท็จ ซึ่งเป็นแนวคิดกับการใช้ในเครื่องจักรต่าง ๆ ดังนั้นการมองทิศทางของ ICT ในมุมมองนี้มักจะเน้นไปที่การสร้างให้เกิดเครื่องมือ เครื่องจักรอำนวยความสะดวกให้แก่มวลมนุษย์ชาติ ในฐานะ “ผู้ผลิต” บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องมองว่าเกิดผลกระทบใดบ้างหลังจากที่เกิดเครื่องมือ นั้นขึ้นมาแล้ว และตั้งหน้าตั้งตาที่จะคิดค้น พัฒนาให้เกิดความเจริญเชิงวัตถุอย่างต่อเนื่อง



ICT ในมุมมองเชิงทุนนิยม

แนว คิดในมุมมองนี้เป็นการนำผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาต่อยอดเพื่อเล็งผลจากการบริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผลสุดท้ายคือการประสบความสำเร็จเป็นตัวเลขผลกำไร หลังจากที่ได้ผลผลิตเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาอยู่ในมือแล้ว เป็นหน้าที่ของกลุ่มนี้จะต้องเร้าความสนใจให้แก่ผู้บริโภคตอบสนองสินค้า อย่างรุนแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อมตามกลไกทางการตลาด อาจมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคปลายทาง นั่นเป็นแนวคิดเชิงทุนนิยมหรืออาจเรียกว่า “พ่อค้าคนกลาง”



ICT ในมุมมองเชิงสังคมศาสตร์

แนวคิดหลักของกลุ่มนี้คือการนำแนวคิดของทั้ง 2 มุม มองข้างต้นมาสังเคราะห์เป็นพฤติกรรม การตอบสนองตามสิ่งเร้าที่ได้รับจากมุมมองเชิงทุนนิยมเป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ ปลายทางซึ่งรวมตัวกันอยู่ในสังคมในฐานะของ “ผู้บริโภค” ความต้องการเสพ ICT มีอย่างไร้ขีดจำกัด จากความต้องการดังกล่าวเป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามทิศทางการเคลื่อนไหว ไม่ต่างไปจากการตกเป็นสาวกของระบบทุนนิยม
ความสะดวกสบาย ความง่าย ความสุข ความบันเทิงของผู้ใช้ปลายทางไม่มีทิศทางที่แน่นอน เปิดโอกาสให้ นักระดมทุนนิยมต่าง ๆ เข้าจับจองพื้นที่สำหรับตน หวังผลกำไรและครอบครองชีวิตของคนเหล่านี้ หากคนในสังคมอ่อนแอ ขาดประสบการและรู้เท่าทัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกเป็นสาวกอย่างจำยอม และในเวลาเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ในฐานะผู้ผลิตก็จับตามองอยู่ว่าผู้บริโภค ต้องการอะไร



ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความสมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ท่านผู้อ่านมีความเห็นสามารถร่วมอภิปรายได้นะครับ เพื่อแบ่งปันความรู้

อายุของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถรองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพได้ประมาณ 5 ปี เนื่องจากว่า

1.มีการพัฒนาของ Hardware และ Software อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วซึ่งต้องการความสามารถของเครื่องสูงขึ้น
2. วัสดุที่นำมาผลิตมีความบอบบางเพื่อลดน้ำหนักและขนาด
3.เกิดความเสื่อมทางกายภาพตามระยะเวลาการใช้งาน
4.ความต้องการภายในตัวผู้ใช้เร้าให้กระบวนการทางการตลาดเติบโต

Educational Inspiration 2030

Easy Talk : Educational Inspriration 2030 โดย ผศ.ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดโดย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสต...