วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

จะทำอย่างไรให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยี

คำนิยามศัพท์

สถานศึกษาหมายถึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย 

หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

ความเป็นสากล หมายถึง ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เป็นที่นิยมทั่วไป,ใช้แทนคํา "ระหว่างประเทศ"


 

เทคโนโลยี หมายถึงความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ซึ่งมีทั้งในรูปของเครื่องมือเครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ รวมถึงเทคนิควิธีการที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์หรือผลผลิตได้


 

ดังนั้นการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีหมายความว่า การทำให้หน่วยงานการศึกษาที่มีหน้าที่การจัดการศึกษาให้เป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในประเทศและระหว่างประเทศด้วยการใช้ความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคนิควิธีการต่าง ๆ


 

Van de Water กล่าวว่าปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลควรเน้นที่กระบวนการหลักสามเรื่อง ได้แก่ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน ด้านคณาจารย์และบุคลากรด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบัน/หน่วยงานอื่น ๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น และคำนึงถึงการให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนและการเน้นการเรียนรู้อย่างแท้จริง


 

วิธีการทำคือ

ใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างเทคนิคกับการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศ ซึ่งอธิบายด้วย

PSCAN


 

PSCAN เป็นอักษรย่อที่ได้จากการสังเคราะห์จากการรวบรวมเอกสารแหล่งต่าง ๆ แสดงปัจจัยที่ส่งผลให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีดังนี้


Professor

เป็นตัวแทนบุคลากรที่ทำการสอนในสถานศึกษา ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากล เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยที่มีโอกาสเดินทางไปศึกษาในระดับสูง ณ ประเทศต่าง ๆ จึงมีศักยภาพที่จะชี้แนะแนวทางในการเข้าสู่เวทีระดับสากลได้อย่างสมภาคภูมิ

Student

นักศึกษาเป็นผลผลิตที่สำคัญของระบบการศึกษาซึ่งได้รับการพัฒนาโดยสถานศึกษาต่าง ๆ การที่จะทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลได้นั้น ศักยภาพของผลผลิตนี้จะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งซึ่งบ่งบอกว่า สถานศึกษาสามารถเป็นสากลได้เพียงใด การพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพทางด้านวิชาการ ทักษะการปฏิบัตินั้นต้องผ่านกระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิต ต้องได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระยะเวลาอันใกล้และ พัฒนาต่อเนื่องไปสู่ประชาคมโลกในเวลาต่อไป โดยเฉพาะการฝึกให้นักศึกษามีความสามารถทางภาษาที่เป็นสากล การส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้ศึกษาร่วมกับนักศึกษาในต่างประเทศ การจัดหาอุปกรณ์การฝึกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับสถานศึกษาที่ได้รับความนิมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Curriculum

การพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้สถานศึกษามีความเป็นสากลนั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา เพื่อระดมความคิดและประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนี้ต้องเปิดหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทย

Activity

การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวิธีที่สามารถเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถเปิดประตูสู่ความเป็นสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหารสถานศึกษานั้น เช่นการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัย ณ ต่างประเทศที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการกับสถานศึกษาเพื่อสนับสนุน แลกเปลี่ยนวิทยาการ แลกเปลี่ยนบุคลากร แลกเปลี่ยนนักศึกษาให้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน อาจอยู่ในรูปการเดินทางไปใช้ชีวิต ณ ประเทศที่มีความร่วมมือระยะสั้นหรือยาวตามความเหมาะสม ในโอกาสนี้นอกจากจะได้ร่วมกิจกรรมทางวิชาการแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละชาติอีกด้วย


 


 

Network

การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสถานศึกษาในลักษณะเดียวกัน เช่นสถานศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นต้น การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายดังกล่าวเป็นการนำสถานศึกษาที่มีความเกี่ยวเนื่องกันให้มารวมตัวกัน โดยเน้นการนำระบบสื่อสารสารสนเทศระยะไกลมาใช้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ เช่นการนำระบบประชุมทางไกลระหว่างประเทศมาใช้ดำเนินการสัมมนาทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ของสถานศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเครือข่าย การประชุมผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการบริหาร การเรียนการสอนวิชาที่จัดหลักสูตรเพื่อเรียนร่วมกันของสถานศึกษาในเครือข่าย ด้วยเหตุผลของการเสริมสร้างความมีมาตรฐานทางวิชาการเป็นต้น


 

    ดังนั้นการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลต้องมีการผสมผสานเทคนิควิธีการต่าง ๆ พร้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีเชิงเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาร่วมกัน การใช้เทคนิควิธีการนั้นเป็นกิจกรรมเชิงนโยบายที่สถานศึกษาพึงมีในการบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีเชิงเครื่องมือนั้นเป็นช่องทางในการนำเทคนิควิธีการเชิงนโยบายให้สามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พฤติกรรมของกลุ่มผู้ทำงาน

ความแตกต่างตามทฤษฎี X ทฤษฎี Y ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นจิตวิทยาทางด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทำงาน


 

   เปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 3 ทฤษฎีในลักษณะตารางดังนี้


 

ทฤษฎี X

ทฤษฎี Y

ทฤษฎี Z

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Passive Worker

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Active Worker

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Coperative Working

ผู้ปฏิบัติงานมักหลีกเลี่ยงการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานสนใจเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ในการทำงาน

รูปแบบของการบริหารจัดการที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กร

ผู้ปฏิบัติงานไม่ชอบทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานตามที่ตนพอใจ

คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานทั่ว ๆ ไปมากกว่าการเป็นผู้เชี่ยวชาญ

ต้องมีการบังคับให้ปฏิบัติงานเพื่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

ผู้ปฏิบัติงานมองหาจุดมุ่งหมายของตนเองจากการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่องจากการฝึกอบบรม

ไม่ยินดีที่จะรับผิดชอบในงานที่อาจเกิดความผิดพลาด

ผู้ปฏิบัติงานจะรับผิดชอบภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม

ผู้ปฏิบัติงานมีแนวโน้มในการสร้างกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

ผู้ปฏิบัติงานไม่ค่อยกระตือรือร้น

ผู้ปฏิบัตงานมีความคิดสร้างสรรค์ แต่มิได้นำมาใช้ให้เต็มที่

ผู้ปฏิบัติงานต้องการการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานและสวัสดิการที่ดีที่สุด


 

อภิปราย

    ทฤษฎี X และทฤษฎี Y อธิบายมุมมองการทำงานของมนุษย์ มีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Douglas Mcgregor ซึ่งมีการกล่าวถึงในวงการการบริหารและจิตวิทยา ทั้งที่กล่าวถึงในเชิงความคิดเห็นของนักวิชาการและงานวิจัยการกล่าวถึงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนทั่วไปมีความต้องการที่ไม่เคยพอ และไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการนั้นได้ทั้งหมด ทฤษฎีของเขายังคงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและวิธีทำงานด้วยการเข้าใจความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน


 

    Prof. William Ouchi ได้เสนอทฤษฎี Z ซึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ของการบริหารแบบอเมริกันกับแบบญี่ปุ่น ทฤษฎีการบริหารของเขาจะเปลี่ยนวิธีการคิดและการทำงานของผู้บริหารและพนักงานในหลายแง่มุม

    Ouchi มิได้กล่าวว่าการบริหารแบบญี่ปุ่นดีกว่าของอเมริกา หากแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานในอเมริกาได้ เพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากความจงรักภักดีต่อองค์กร

เมื่อกล่าวถึงทฤษฎี X ทฤษฎี Yและ ทฤษฎี Z จะเห็นได้ว่าพื้นฐานการคิดและกระทำกับผู้ปฏิบัติงานของแต่ละทฤษฎีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า แนวความคิดเก่าของทฤษฎี x นั้นเป็นการกระทำกับผู้ปฏิบัติงานที่มีพื้นฐานมาจากการมีระบบทาสในยุคดั้งเดิม มุมมองต่อตัวผู้ปฏิบัติงานยังมองว่าเป็นแรงงานระดับล่าง (Labor) ที่ไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจในการทำงาน เมื่อขาดแรงจูงใจต่าง ๆ ดังกล่าวก็ไร้ซึ่งความกระตือรือร้นในการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X มีลักษณะที่เหมือนกันกับ ทฤษฎี Y และ ทฤษฎี Z คือความต้องการการมีความมั่นคงในชีวิต เพียงแต่ ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X อาจไม่ได้รับความสำคัญอย่างเช่นผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี Y และ Z
จึงมีพฤติกรรมเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบไร้ความกระตือรือร้น ( Passive Worker) แต่มุมมองในทางตรงกันข้าม การให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานตามสมควร กล่าวคือเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการ เช่น การกำหนดเวลาทำงาน การจัดสรรภารกิจ
เป็นต้น การปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องดำเนินการอย่างดีที่สุด
ทั้งด้านสวัสดิการ การรับรู้นโยบายการบริหาร ค่าจ้าง การพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานควรจะได้รับอย่างเป็นธรรม จะเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตอันเนื่องมาจากการจงรักภักดีในองค์กร อีกทั้งการให้ความสำคัญใกล้ชิดระหว่างระบบการบังคับบัญชาแนวตั้งและแนวนอนที่คิดเสมือนว่าทุกคนในองค์กรเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกันและกัน มององค์กรในลักษณะ System Approch น่าจะเป็นเครื่องนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จดังทฤษฎี Z

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

อายุของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถรองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพได้ประมาณ 5 ปี เนื่องจากว่า

1.มีการพัฒนาของ Hardware และ Software อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วซึ่งต้องการความสามารถของเครื่องสูงขึ้น
2. วัสดุที่นำมาผลิตมีความบอบบางเพื่อลดน้ำหนักและขนาด
3.เกิดความเสื่อมทางกายภาพตามระยะเวลาการใช้งาน
4.ความต้องการภายในตัวผู้ใช้เร้าให้กระบวนการทางการตลาดเติบโต

ICT ในระบบสังคม

การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่เป็นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความ สมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ICT ในมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

เป็น ความคิดเชิงระบบซึ่งว่าด้วยการหาเหตุผลมาอ้างอิง ผลลัพธ์ที่ได้รับจะมีคำตอบที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น ผิด / ถูก , จริง/เท็จ ซึ่งเป็นแนวคิดกับการใช้ในเครื่องจักรต่าง ๆ ดังนั้นการมองทิศทางของ ICT ในมุมมองนี้มักจะเน้นไปที่การสร้างให้เกิดเครื่องมือ เครื่องจักรอำนวยความสะดวกให้แก่มวลมนุษย์ชาติ ในฐานะ “ผู้ผลิต” บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องมองว่าเกิดผลกระทบใดบ้างหลังจากที่เกิดเครื่องมือ นั้นขึ้นมาแล้ว และตั้งหน้าตั้งตาที่จะคิดค้น พัฒนาให้เกิดความเจริญเชิงวัตถุอย่างต่อเนื่อง



ICT ในมุมมองเชิงทุนนิยม

แนว คิดในมุมมองนี้เป็นการนำผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาต่อยอดเพื่อเล็งผลจากการบริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผลสุดท้ายคือการประสบความสำเร็จเป็นตัวเลขผลกำไร หลังจากที่ได้ผลผลิตเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาอยู่ในมือแล้ว เป็นหน้าที่ของกลุ่มนี้จะต้องเร้าความสนใจให้แก่ผู้บริโภคตอบสนองสินค้า อย่างรุนแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อมตามกลไกทางการตลาด อาจมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคปลายทาง นั่นเป็นแนวคิดเชิงทุนนิยมหรืออาจเรียกว่า “พ่อค้าคนกลาง”



ICT ในมุมมองเชิงสังคมศาสตร์

แนวคิดหลักของกลุ่มนี้คือการนำแนวคิดของทั้ง 2 มุม มองข้างต้นมาสังเคราะห์เป็นพฤติกรรม การตอบสนองตามสิ่งเร้าที่ได้รับจากมุมมองเชิงทุนนิยมเป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ ปลายทางซึ่งรวมตัวกันอยู่ในสังคมในฐานะของ “ผู้บริโภค” ความต้องการเสพ ICT มีอย่างไร้ขีดจำกัด จากความต้องการดังกล่าวเป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามทิศทางการเคลื่อนไหว ไม่ต่างไปจากการตกเป็นสาวกของระบบทุนนิยม
ความสะดวกสบาย ความง่าย ความสุข ความบันเทิงของผู้ใช้ปลายทางไม่มีทิศทางที่แน่นอน เปิดโอกาสให้ นักระดมทุนนิยมต่าง ๆ เข้าจับจองพื้นที่สำหรับตน หวังผลกำไรและครอบครองชีวิตของคนเหล่านี้ หากคนในสังคมอ่อนแอ ขาดประสบการและรู้เท่าทัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกเป็นสาวกอย่างจำยอม และในเวลาเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ในฐานะผู้ผลิตก็จับตามองอยู่ว่าผู้บริโภค ต้องการอะไร



ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความสมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ท่านผู้อ่านมีความเห็นสามารถร่วมอภิปรายได้นะครับ เพื่อแบ่งปันความรู้

Educational Inspiration 2030

Easy Talk : Educational Inspriration 2030 โดย ผศ.ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดโดย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสต...