วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

จะทำอย่างไรให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยี

คำนิยามศัพท์

สถานศึกษาหมายถึงสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย 

หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา

ความเป็นสากล หมายถึง ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เป็นที่นิยมทั่วไป,ใช้แทนคํา "ระหว่างประเทศ"


 

เทคโนโลยี หมายถึงความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ซึ่งมีทั้งในรูปของเครื่องมือเครื่องจักรหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ รวมถึงเทคนิควิธีการที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์หรือผลผลิตได้


 

ดังนั้นการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีหมายความว่า การทำให้หน่วยงานการศึกษาที่มีหน้าที่การจัดการศึกษาให้เป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในประเทศและระหว่างประเทศด้วยการใช้ความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคนิควิธีการต่าง ๆ


 

Van de Water กล่าวว่าปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลควรเน้นที่กระบวนการหลักสามเรื่อง ได้แก่ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน ด้านคณาจารย์และบุคลากรด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบัน/หน่วยงานอื่น ๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น และคำนึงถึงการให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางของการเรียนและการเน้นการเรียนรู้อย่างแท้จริง


 

วิธีการทำคือ

ใช้รูปแบบผสมผสานระหว่างเทคนิคกับการใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศ ซึ่งอธิบายด้วย

PSCAN


 

PSCAN เป็นอักษรย่อที่ได้จากการสังเคราะห์จากการรวบรวมเอกสารแหล่งต่าง ๆ แสดงปัจจัยที่ส่งผลให้สถานศึกษามีความเป็นสากลด้วยการใช้เทคโนโลยีดังนี้


Professor

เป็นตัวแทนบุคลากรที่ทำการสอนในสถานศึกษา ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากล เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้จำนวนไม่น้อยที่มีโอกาสเดินทางไปศึกษาในระดับสูง ณ ประเทศต่าง ๆ จึงมีศักยภาพที่จะชี้แนะแนวทางในการเข้าสู่เวทีระดับสากลได้อย่างสมภาคภูมิ

Student

นักศึกษาเป็นผลผลิตที่สำคัญของระบบการศึกษาซึ่งได้รับการพัฒนาโดยสถานศึกษาต่าง ๆ การที่จะทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลได้นั้น ศักยภาพของผลผลิตนี้จะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งซึ่งบ่งบอกว่า สถานศึกษาสามารถเป็นสากลได้เพียงใด การพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพทางด้านวิชาการ ทักษะการปฏิบัตินั้นต้องผ่านกระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิต ต้องได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในระยะเวลาอันใกล้และ พัฒนาต่อเนื่องไปสู่ประชาคมโลกในเวลาต่อไป โดยเฉพาะการฝึกให้นักศึกษามีความสามารถทางภาษาที่เป็นสากล การส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้ศึกษาร่วมกับนักศึกษาในต่างประเทศ การจัดหาอุปกรณ์การฝึกที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับสถานศึกษาที่ได้รับความนิมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Curriculum

การพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้สถานศึกษามีความเป็นสากลนั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอกสถานศึกษา เพื่อระดมความคิดและประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนี้ต้องเปิดหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล นานาชาติ และของไทย

Activity

การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวิธีที่สามารถเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถเปิดประตูสู่ความเป็นสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหารสถานศึกษานั้น เช่นการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัย ณ ต่างประเทศที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการกับสถานศึกษาเพื่อสนับสนุน แลกเปลี่ยนวิทยาการ แลกเปลี่ยนบุคลากร แลกเปลี่ยนนักศึกษาให้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน อาจอยู่ในรูปการเดินทางไปใช้ชีวิต ณ ประเทศที่มีความร่วมมือระยะสั้นหรือยาวตามความเหมาะสม ในโอกาสนี้นอกจากจะได้ร่วมกิจกรรมทางวิชาการแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละชาติอีกด้วย


 


 

Network

การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสถานศึกษาในลักษณะเดียวกัน เช่นสถานศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นต้น การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายดังกล่าวเป็นการนำสถานศึกษาที่มีความเกี่ยวเนื่องกันให้มารวมตัวกัน โดยเน้นการนำระบบสื่อสารสารสนเทศระยะไกลมาใช้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ เช่นการนำระบบประชุมทางไกลระหว่างประเทศมาใช้ดำเนินการสัมมนาทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ของสถานศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเครือข่าย การประชุมผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการบริหาร การเรียนการสอนวิชาที่จัดหลักสูตรเพื่อเรียนร่วมกันของสถานศึกษาในเครือข่าย ด้วยเหตุผลของการเสริมสร้างความมีมาตรฐานทางวิชาการเป็นต้น


 

    ดังนั้นการทำให้สถานศึกษามีความเป็นสากลต้องมีการผสมผสานเทคนิควิธีการต่าง ๆ พร้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีเชิงเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาร่วมกัน การใช้เทคนิควิธีการนั้นเป็นกิจกรรมเชิงนโยบายที่สถานศึกษาพึงมีในการบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีเชิงเครื่องมือนั้นเป็นช่องทางในการนำเทคนิควิธีการเชิงนโยบายให้สามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พฤติกรรมของกลุ่มผู้ทำงาน

ความแตกต่างตามทฤษฎี X ทฤษฎี Y ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นจิตวิทยาทางด้านพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทำงาน


 

   เปรียบเทียบความแตกต่างของทั้ง 3 ทฤษฎีในลักษณะตารางดังนี้


 

ทฤษฎี X

ทฤษฎี Y

ทฤษฎี Z

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Passive Worker

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Active Worker

ผู้ปฏิบัติงานเป็นลักษณะ

Coperative Working

ผู้ปฏิบัติงานมักหลีกเลี่ยงการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานสนใจเงื่อนไขหรือผลประโยชน์ในการทำงาน

รูปแบบของการบริหารจัดการที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานขององค์กร

ผู้ปฏิบัติงานไม่ชอบทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานตามที่ตนพอใจ

คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานทั่ว ๆ ไปมากกว่าการเป็นผู้เชี่ยวชาญ

ต้องมีการบังคับให้ปฏิบัติงานเพื่อวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

ผู้ปฏิบัติงานมองหาจุดมุ่งหมายของตนเองจากการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่องจากการฝึกอบบรม

ไม่ยินดีที่จะรับผิดชอบในงานที่อาจเกิดความผิดพลาด

ผู้ปฏิบัติงานจะรับผิดชอบภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม

ผู้ปฏิบัติงานมีแนวโน้มในการสร้างกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

ผู้ปฏิบัติงานไม่ค่อยกระตือรือร้น

ผู้ปฏิบัตงานมีความคิดสร้างสรรค์ แต่มิได้นำมาใช้ให้เต็มที่

ผู้ปฏิบัติงานต้องการการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานและสวัสดิการที่ดีที่สุด


 

อภิปราย

    ทฤษฎี X และทฤษฎี Y อธิบายมุมมองการทำงานของมนุษย์ มีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Douglas Mcgregor ซึ่งมีการกล่าวถึงในวงการการบริหารและจิตวิทยา ทั้งที่กล่าวถึงในเชิงความคิดเห็นของนักวิชาการและงานวิจัยการกล่าวถึงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนทั่วไปมีความต้องการที่ไม่เคยพอ และไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการนั้นได้ทั้งหมด ทฤษฎีของเขายังคงเป็นพื้นฐานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและวิธีทำงานด้วยการเข้าใจความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน


 

    Prof. William Ouchi ได้เสนอทฤษฎี Z ซึ่งว่าด้วยความสัมพันธ์ของการบริหารแบบอเมริกันกับแบบญี่ปุ่น ทฤษฎีการบริหารของเขาจะเปลี่ยนวิธีการคิดและการทำงานของผู้บริหารและพนักงานในหลายแง่มุม

    Ouchi มิได้กล่าวว่าการบริหารแบบญี่ปุ่นดีกว่าของอเมริกา หากแต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานในอเมริกาได้ เพื่อเพิ่มผลผลิตเชิงอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากความจงรักภักดีต่อองค์กร

เมื่อกล่าวถึงทฤษฎี X ทฤษฎี Yและ ทฤษฎี Z จะเห็นได้ว่าพื้นฐานการคิดและกระทำกับผู้ปฏิบัติงานของแต่ละทฤษฎีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า แนวความคิดเก่าของทฤษฎี x นั้นเป็นการกระทำกับผู้ปฏิบัติงานที่มีพื้นฐานมาจากการมีระบบทาสในยุคดั้งเดิม มุมมองต่อตัวผู้ปฏิบัติงานยังมองว่าเป็นแรงงานระดับล่าง (Labor) ที่ไร้ซึ่งความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจในการทำงาน เมื่อขาดแรงจูงใจต่าง ๆ ดังกล่าวก็ไร้ซึ่งความกระตือรือร้นในการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X มีลักษณะที่เหมือนกันกับ ทฤษฎี Y และ ทฤษฎี Z คือความต้องการการมีความมั่นคงในชีวิต เพียงแต่ ผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี X อาจไม่ได้รับความสำคัญอย่างเช่นผู้ปฏิบัติงานในทฤษฎี Y และ Z
จึงมีพฤติกรรมเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบไร้ความกระตือรือร้น ( Passive Worker) แต่มุมมองในทางตรงกันข้าม การให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานตามสมควร กล่าวคือเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการ เช่น การกำหนดเวลาทำงาน การจัดสรรภารกิจ
เป็นต้น การปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติงานนั้นต้องดำเนินการอย่างดีที่สุด
ทั้งด้านสวัสดิการ การรับรู้นโยบายการบริหาร ค่าจ้าง การพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานควรจะได้รับอย่างเป็นธรรม จะเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตอันเนื่องมาจากการจงรักภักดีในองค์กร อีกทั้งการให้ความสำคัญใกล้ชิดระหว่างระบบการบังคับบัญชาแนวตั้งและแนวนอนที่คิดเสมือนว่าทุกคนในองค์กรเป็นส่วนหนึ่งซึ่งกันและกัน มององค์กรในลักษณะ System Approch น่าจะเป็นเครื่องนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จดังทฤษฎี Z

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

อายุของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถรองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพได้ประมาณ 5 ปี เนื่องจากว่า

1.มีการพัฒนาของ Hardware และ Software อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วซึ่งต้องการความสามารถของเครื่องสูงขึ้น
2. วัสดุที่นำมาผลิตมีความบอบบางเพื่อลดน้ำหนักและขนาด
3.เกิดความเสื่อมทางกายภาพตามระยะเวลาการใช้งาน
4.ความต้องการภายในตัวผู้ใช้เร้าให้กระบวนการทางการตลาดเติบโต

ICT ในระบบสังคม

การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่เป็นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความ สมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ICT ในมุมมองเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

เป็น ความคิดเชิงระบบซึ่งว่าด้วยการหาเหตุผลมาอ้างอิง ผลลัพธ์ที่ได้รับจะมีคำตอบที่ค่อนข้างแน่นอน เช่น ผิด / ถูก , จริง/เท็จ ซึ่งเป็นแนวคิดกับการใช้ในเครื่องจักรต่าง ๆ ดังนั้นการมองทิศทางของ ICT ในมุมมองนี้มักจะเน้นไปที่การสร้างให้เกิดเครื่องมือ เครื่องจักรอำนวยความสะดวกให้แก่มวลมนุษย์ชาติ ในฐานะ “ผู้ผลิต” บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องมองว่าเกิดผลกระทบใดบ้างหลังจากที่เกิดเครื่องมือ นั้นขึ้นมาแล้ว และตั้งหน้าตั้งตาที่จะคิดค้น พัฒนาให้เกิดความเจริญเชิงวัตถุอย่างต่อเนื่อง



ICT ในมุมมองเชิงทุนนิยม

แนว คิดในมุมมองนี้เป็นการนำผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาต่อยอดเพื่อเล็งผลจากการบริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผลสุดท้ายคือการประสบความสำเร็จเป็นตัวเลขผลกำไร หลังจากที่ได้ผลผลิตเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาอยู่ในมือแล้ว เป็นหน้าที่ของกลุ่มนี้จะต้องเร้าความสนใจให้แก่ผู้บริโภคตอบสนองสินค้า อย่างรุนแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อมตามกลไกทางการตลาด อาจมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคปลายทาง นั่นเป็นแนวคิดเชิงทุนนิยมหรืออาจเรียกว่า “พ่อค้าคนกลาง”



ICT ในมุมมองเชิงสังคมศาสตร์

แนวคิดหลักของกลุ่มนี้คือการนำแนวคิดของทั้ง 2 มุม มองข้างต้นมาสังเคราะห์เป็นพฤติกรรม การตอบสนองตามสิ่งเร้าที่ได้รับจากมุมมองเชิงทุนนิยมเป็นพฤติกรรมของผู้ใช้ ปลายทางซึ่งรวมตัวกันอยู่ในสังคมในฐานะของ “ผู้บริโภค” ความต้องการเสพ ICT มีอย่างไร้ขีดจำกัด จากความต้องการดังกล่าวเป็นแหล่งข้อมูลในการติดตามทิศทางการเคลื่อนไหว ไม่ต่างไปจากการตกเป็นสาวกของระบบทุนนิยม
ความสะดวกสบาย ความง่าย ความสุข ความบันเทิงของผู้ใช้ปลายทางไม่มีทิศทางที่แน่นอน เปิดโอกาสให้ นักระดมทุนนิยมต่าง ๆ เข้าจับจองพื้นที่สำหรับตน หวังผลกำไรและครอบครองชีวิตของคนเหล่านี้ หากคนในสังคมอ่อนแอ ขาดประสบการและรู้เท่าทัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตกเป็นสาวกอย่างจำยอม และในเวลาเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ในฐานะผู้ผลิตก็จับตามองอยู่ว่าผู้บริโภค ต้องการอะไร



ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่คนในสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้ผลผลิตที่ได้จากเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ อีกทั้งต้องหาวิธีให้มุมมองทั้ง 3 มุมในฐานะที่ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมมาพบกันเพื่อสร้างความสมดุลในทางสังคมอย่างยั่งยืนให้ได้

ท่านผู้อ่านมีความเห็นสามารถร่วมอภิปรายได้นะครับ เพื่อแบ่งปันความรู้

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สาเหตุที่เด็กมีโอกาสเสพสื่อที่ไม่พึงประสงค์

สาเหตุที่เด็กมีโอกาสเสพสื่อที่ไม่พึงประสงค์

  1. ผู้ปกครองแสดงแบบอย่างการดำรงชีวิตประจำวัน
    ที่ปราศจากการควบคุมให้เด็กเห็น
  2. ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กมีเวลาว่างมากเกินไป
  3. ผู้ปกครองละเลยการกวดขันวินัยให้แก่เด็ก
  4. ผู้ปกครองละเลยการปลูกฝังวินัยในตนเองให้แก่เด็ก
  5. ผู้ปกครองละเลยการอธิบายสิ่งที่เป็นผลดี – ผลเสีย
    ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายให้แก่เด็ก
  6. ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กครอบครองวัตถุที่สามารถ
    บรรจุสื่อที่มีความรุนแรงไว้ใช้เป็นส่วนตัว
  7. ผู้ปกครองไม่มีความรู้เพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกัน
    ชีวิตของเด็ก
  8. ผู้ปกครองไม่เคยชี้นำหรือพาเด็กไปในสถานที่ที่
    จรรโลงชีวิต
  9. ผู้ปกครองตาม Lifestyle ของเด็กไม่ทัน
  10. สังคมนอกบ้านของเด็กเป็นสังคมที่ถูกมอมเมา
    จากกระแสความรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Cyber Love Technology


เทคโนโลยีความรัก...จากโลกที่มองไม่เห็นเงา
(Cyber Love Technology)



 

        "คุณมีคู่รักหรือยังครับ" ผมหมายถึงสุภาพบุรุษหรือสุภาพสตรีที่อยู่ในฐานะสามีหรือภรรยาของท่าน รวมทั้งผู้ที่ยังเป็นแฟนกันอยู่ด้วยนะครับ ยินดีอย่างยิ่งถ้าประโยคข้างต้นสามารถเรียกรอยยิ้มที่มุมปากของท่านผู้อ่านได้ ลองคิดถึงตอนที่ท่านกำลังจีบกันใหม่ ๆ ซิครับ ท่านมีความสุขเพียงใดถ้าคู่รักของท่านก็มีใจเช่นกัน ความรักเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ รักกันเถอะครับชีวิตชุ่มชื่น
        ความรักมันมีเทคโนโลยี ท่านผู้อ่านคงฉีกยิ้มกว้างกว่าเดิม อ่านก่อนครับ ที่ผมกล่าวเช่นนี้ใช่ว่าไร้สาระ ผมจะไม่ลงลึกว่าความรักคืออะไรนะครับเนื่องจากทุกท่าน "รักเป็น" กันอยู่แล้ว แต่ผมขอกล่าวถึงคำว่า "เทคโนโลยี" ในภาพกว้าง ๆ ต่อจากนั้นท่านผู้อ่านต้องใช้ลมหายของท่านผูกคำทั้งสองให้เป็นชีวิตของท่านเอง
        มีคำสองคำซึ่งต่างความหมายกันมาประกอบกันเป็นคำเพียงหนึ่งคำ เป็นต้นทางของความหมายที่ยิ่งใหญ่และมีอิทธพลกับการดำรงชีวิตในยุคนี้ เช่นเดียวกับการเดินทางของหัวใจของคนสองคน ต่างเดินทางมาจากคนละที่เพื่อมารวมกันเป็นดวงใจเดียวกันและมีผลต่อต้นทางชีวิตคู่ของคนทั้งสอง
คำทั้งสองคือ"เทคโน" (Techno) และ "โลยี" (Logy) คำว่า "เทคโน" ตีความหมายง่าย ๆ คือ เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ สำหรับการทำอะไรก็ได้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูง ประหยัด รวดเร็ว เหนื่อยน้อยลง
ยิ้มง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวัตถุที่มีราคาแพงใด ๆ ทั้งสิ้น พอนึกภาพออกหรือไม่ครับ ยกตัวอย่างเช่นตอนที่ท่านหรือคู่รักของท่านบอกว่า "ผมรักคุณ" คุณหรือเขามีเทคนิคอย่างไร เช่น คุกเข่ามือกุมมือแล้วทำตาเยิ้ม ๆ แบบในหนังสือการ์ตูนหรือมอบช่อดอกลิลลี่สีขาวหอมกรุ่นช่อโต ๆ พร้อมกับคำหวาน ๆ ฟังแล้วยากมากที่จะปฏิเสธ อะไรก็แล้วแต่ นั่นแหละครับ "เทคโน" ส่วนคำว่า "โลยี" หมายถึงความรู้ อาจเป็นความรู้เชิงวิชาการก็ได้ แต่ความรักต้องรู้เขารู้เรา รู้ทิศทาง รู้ความรู้สึก รู้ความต้องการ สารพัดรู้ครับบอกไม่ได้ สรุป "เทคโนโลยี" หมายความว่ารู้ที่จะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งที่ท่านทำสำเร็จ ลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีความรักของท่านเป็นอย่างไรครับ
        ในยุคโลกไร้พรหมแดนนี้มีวิธีการต่าง ๆ มากมายที่อำนวยความสะดวกให้คนในยุคนี้สามารถสื่อสารกันได้อย่างไม่จำกัดระยะทาง เวลา เชื้อชาติและภูมิประเทศ ดังจะเห็นได้จากการเกิดเทคโนโลยีการสื่อสารมากมายเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ไหน ๆ กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตแล้วขอแวะคุยซักหน่อย
        คอมพิวเตอร์ถูกกล่าวขานให้เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสามารถรอบด้านตั้งแต่เริ่มนำ
กระแสไฟฟ้าเข้ามาเป็นพลังงาน คนสร้างมันให้สามารถคิดเลขที่มีความซับซ้อนได้รวดเร็วอย่างที่คนไม่สามารถคิดได้ ต่อจากนั้นมันก็ถูกคนสร้างให้ทำอะไรได้อีกหลายอย่างมาก ใครจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เมื่อผ่านมาหลายสิบปีจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนมาแต่งงานกันได้ !
        จากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสามารถมาจนถึงระบบเครือข่ายที่ถูกพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานเพียงลำพัง ( Stand Alone ) สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งอยู่ที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้เหมือนกับเป็นเครื่องเดียวกัน ผู้ใช้งานไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผู้ใช้งานอีกฝากหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือคู่สนทนาจากการ Chat รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ขณะที่สนทนากันอยู่นั้นเงาของเขาหรือเธอทอดไปทางทิศใดหรือว่ามีเงาหรือไม่ หมายความว่าบุคคลที่กำลังสนทนาอยู่ด้วยนั้นกำลังสื่อสารในสิ่งที่เป็นจริงหรือเสแสร้งกันแน่ นี่คือ "โลกที่มองไม่เห็นเงา"
        Chat เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองกระบวนการทางสังคมของมนุษย์ หนุ่ม - สาวจำนวนไม่น้อยมีโอกาสได้ Chat เพื่อสร้างโอกาสใหม่ให้กับชีวิต คุณเคยคุยกับใครสักคนหนึ่งโดยบังเอิญแล้วรู้สึกถูกคอบ้างหรือไม่ครับ บรรยากาศเหมือนกันเลยครับ แต่ต่างจากการคุยทางวาจาก็คือ การ Chat นั้นใช้คอมพิวเตอร์คุยโดยการพิมพ์ที่แป้นพิมพ์เป็นหลัก เมื่อ Chat ต่อเนื่องสักระยะหนึ่ง ถูกใจกันก็สามารถสานความสัมพันธ์ต่อ จากไร้เงาก็พัฒนามาเป็นนัดแรกพบที่เห็นเงาจริง ๆ ถ้าระยะทางไม่เป็นอุปสรรค
Chat จึงเป็นทคโนโลยีสานความรักให้เขาและเธอเริ่มต้นความรักได้อย่างน่าทึ่ง
ในทางกลับกันมักจะได้ยินข่าวทางสื่อมวลชนอยู่เนือง ๆ กับการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพที่ใช้การ Chat เป็นเส้นทางในการสร้างปัญหาให้กับสังคม เนื่องจากการอ่อนประสบการณ์ของผู้ใช้บางคนซึ่งสมัครใจเข้าไปอยู่ในโลกไร้เงาแบบรู้ตัว
เทคโนโลยีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายและความเจริญแห่งตนแม้เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเพียงใด หากผู้ใช้ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมแห่งตนแล้วก็ไม่อาจสร้างความยิ่งใหญ่ได้ และที่ร้ายแรงกว่านั้นหากผู้ใช้ "เทคโนโลยี" ไร้ซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ความหายนะจะบังเกิดแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเองอย่างคาดไม่ถึง

 

เมธี พิกุลทอง

Educational Inspiration 2030

Easy Talk : Educational Inspriration 2030 โดย ผศ.ดร.อาณัติ รัตนถิรกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดโดย นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสต...